การคมนาคมทางอากาศ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา การขนส่งทางอากาศของไทยได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีสายการบินจากทั่วโลกแวะลงที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ (ดอนเมือง) เป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ กลายเป็นศูนย์กลางการบินที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การขนส่งทางอากาศ ประกอบด้วยสายการบินภายในประเทศ และสายการบินระหว่างประเทศ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhf0eT0GeZ1H2oI-lMfz2Z_2zY4Y0fAWbDQUayWecE1gWs3vAG1keUNXRxs34fxKfZCEIumMgT15YDcVGs17-5caDdeJ3Hu47FsRCvu6G2HOA6_94CbExfml-Nin6KZ5KoyVpboQNn6ZwE/s1600/34_20090722105202..jpg)
1. สายการบินภายในประเทศ ดำเนินการโดยบริษัทการบินไทย จำกัด ซึ่งเป็นของรัฐบาล รับบริการขนส่งผู้โดยสาร พัสดุภัณฑ์ระหว่างจังหวัดที่สำคัญภายในประเทศและประเทศใกล้เคียง คือปีนังและเวียงจันทน์ สนามบินต่างจังหวัดที่มีพื้นผิวทางวิ่งมาตรฐาน ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี พิษณุโลก ขอนแก่น ลำปาง เชียงราย แม่สอด ตรัง นครพนนม แม่ฮ่องสอน แม่สะเรียง ปัตตานี ภูเก็ต และหาดใหญ่
2. สายการบินระหว่างประเทศ ดำเนินการโดยบริษัทการบินไทย (Thai International ) ทำการบินติดต่อระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ ยุโรป ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และกำลังขยายต่อไปอีก
credit : click
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น