วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เครื่องบินที่ในบาง (?)

วันนี้จะไม่มีสาระนะคะ
บล๊อคนี้ว่าจะเขียนเกี่ยวกับการเดินทางของคนในชุมชนบางใบไม้ ที่จ.สุราษฏร์ธานี
แน่นอนทุกคนก็ต้องนึกถึงรถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ เรือ
เป็นไปได้หรือไม่ที่จะนั่งเครื่องบินไปลงที่ในบาง... ?

คืองี้... เราคิดได้สองแง่
1. เป็นไปไม่ได้
2. เป็นไปได้

ในกรณีที่ 1 คนที่เลือกคิดแบบนี้ ต้องเป็นพวกไม่มีจินตนาการ
พวกประเภทนี้นี่อยู่อยากนะคะ (ล้อเล่น) 555+

เราจะมาพูดถึงเรื่องทำไมเป็นไปไม่ได้
ปั๊ดโถ้แม่คุณ เครื่องบินลำเท่ามหาช้างคูณช้าง
ลงจอดที่ในบาง น้ำก็ท่วมเมืองสุราษฏร์แล้วจ้า
มันจะเป็นไปได้ยังไง้ โอ๊ย เลอะเทอะ




เรามาดูในความเป็นไปได้กัน...
ยุคสมัยนี้วิวัฒนาการของเทคโนโลยีก้าวไกลเหลือเกินค่ะพ่อแม่พี่น้อง
เป็นไปได้ไหมที่จะมีคนประดิษฐ์เครื่องบินจิ๋ว
เป็นไปได้ไหมที่จะมีคนประดิษฐ์คอปเตอร์ไม้ไผ่ของโดราเอมอนมาใช้ในชีวิตจริง

                                

มันเกิดขึ้นแล้วนะคะในกรณีที่สอง
คอปเตอร์ไม้ไผ่แบบโดราเอมอนผลิตที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว
2 ล้านบาทนิดนิดเองค่ะ -w-




เอาเป็นว่าไว้เจอกันใหม่ สำหรับวันนี้พอแค่นี้ก่อนละกัน
อัพมาตั้ง10บล๊อคเห็นจะได้ รักนะคะทุกคน บั๊ยบั่ยยยส์ ♥3♥

Airplanes ☺


วันนี้ก็เช่นเคยนะคะ จะพูดเกี่ยวกับเครื่องบิน เหมือนเคย
แต่ระหว่างที่อ่านบทความรู้เหล่านั้น ก็อย่าลืมกดฟังเพลงไปด้วยนะค้า ~

เครื่องบิน (Airplanes)

เมื่อเรามองไปที่สนามบินเราจะเห็นว่า มีเครื่องบินมากมายหลายแบบ แต่ถ้าเรามองให้ดีแล้วเราจะพบว่าเครื่องบินไม่ว่าแบบใดก็ตาม จะมีส่วนประกอบหลักๆ ดังนี้



ลำตัว (Fuselage)
ลำตัวเครื่องบินนั้นมีหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อของส่วนประกอบหลักต่างๆ ที่ประกอบรวมกันเป็นเครื่องบิน แต่ส่วนที่เป็นของลำตัวเครื่องบินได้แก่ ห้องนักบิน (cabin or cockpit) , ที่นั่ง, ส่วนบังคับการบินต่างๆ และที่ใส่สัมภาระในเครื่องบินบางแบบ หรือ ที่นั่งผู้โดยสาร เป็นต้น 

ปีก (Wing)
เมื่อมีอากาศไหลผ่านปีกของเครื่องบิน จะทำให้เกิดแรงยกเรียกว่า ลิฟ (lift) ที่ช่วยทำให้เครื่องบินลอยได้ ปีกเครื่องบิน นั้นในบางแบบจะติดตั้งอยู่ด้านบนของตัวเครื่องบิน บางแบบก็ติดตั้งอยูกลางลำตัว หรือ บางแบบอาจติดตั้งอยู่ใต้ลำตัวเครื่อง ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบเครื่องบิน เครื่องบินที่มีปีกชั้น เดียวเรียกว่า โมโนเพลน (monoplanes) เครื่องบินที่มีปีกสองชั้นเรี่ยกว่า ไบเพลน (biplanes) ในการที่จะทำให้เครื่องบินสามารถควบคุม ได้ตามต้องการนั้นที่ปีกของเครื่องบินจะมีแผ่นบังคับอยู่สองชนิดที่ด้านหลังของปีกทั้งสองข้าง เรียกว่า แอเลอร์รอน (ailerons) และ แฟลป (flap) แอเลอร์รอน จะติดตั้งอยู่ด้านหลังของปีกทั้งสองข้างโดยมีความยาวเริ่มจากจุดกึ่งกลางของปีก ด้านในไปจนถึงปลายด้านนอกของปีก การทำงานของ แอเลอร์รอน ทั้งสองข้างจะทำงานในทิศทางตรงกันข้าม เช่นถ้า แอเลอร์รอน ที่ปีกด้านซ้ายเลื่อนไปในทิศทางยกขึ้น แอเลอร์รอน ที่ปีกด้านขวาก็จะเลื่อนไปในทิศทางยกลง แฟลป จะติดตั้งอยู่ด้านหลังของปีกทั้งสองข้าง โดยมีความยาวเริ่มจุดกึ่งกลางของปีก ไปยังด้านใน จนกระทั้งถึงลำตัวเครื่องบิน การทำงานของ แฟลปทั้งสองข้างจะทำงานในทิศทางเดียวกัน เช่นเมื่อเลื่อนขึ้นก็จะเลื่อนขึ้นพร้อมกันทั้งสองข้าง สำหรับหลักการทำงาน ของทั้งสองแผ่นพื้นบังคับนี้จะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป 


ชุดพวงหาง (Empennage)
ชุดพวงหางประกอบไปด้วย เวอร์ติคัล สแตบิไลเซอร์ (vertical stabilizer) หรือ หางสือ (fin) และ ฮอร์ริแซนทอล สแตบิไลเซอร์ (horizontal stabilizer) ทั้งสองชุดนี้จะช่วยให้เราสามารถบังคับ เครื่องบินให้บินในระดับ และทิศทางที่ต้องการ ไปในอากาศได้ รัดเดอร์ (rudder) คือแผ่นพื้นบังคับที่ติดตั้งอยู่ที่ส่วนท้ายของ เวอร์ติคัล สแตบิไลเซอร์ ใช้ในการบังคับให้หัวเครื่องบิน ไปในทิศทางซ้าย หรือ ขวา ในการใช้งานจริงนั้น รัดเดอร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับ แอเลอร์รอน เพื่อบังคับให้เครื่องบินเลี้ยว (turn) จะได้กล่าวรายละเอียดต่อไป
อีเลเวเตอร์ (elevator) คือแผ่นพื้นบังคับที่ติดตั้งอยู่ที่ส่วนท้ายของ ฮอร์ริแซนทอล สแตบิไลเซอร์ ใช้ในการควบคุมการยกหัวขึ้น หรือลง เพื่อให้เราไปยังความสูงที่ต้องการได้ เครื่องบินส่วนใหญ่จะมี แผ่นบังคับเล็กๆติดตั้งอยู่ที่ปลายของ อีเลเวเตอร์ เรียกว่า ทริม แทป (trim tab) ทริม แทปมีหน้านี้ช่วยให้เราให้แรงน้อยลงในการควบคุม เครื่องให้อยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการ สำหรับการใช้งาน ครูการบินของท่านจะเป็นผู้แนะนำการใช้งานอีกครั้งหนึ่ง

แลนดิ่ง เกียร์ (landing gear)
แลนดิ่ง เกียร์ทำหน้าที่ช่วยรับแรงกระแทกในขณะร่อนลง และช่วยรองรับเครื่องบินในขณะที่อยู่บนพื้นดิน จะประกอบไปด้วย ล้อสามล้อด้วยกัน โดยมีสองล้อหลัก (main wheels) จะติดตั้งด้านข้างของลำตัวเครื่องบินด้านละล้อ อีกล้อหนึ่งจะมีการติดตั้ง อยู่สองตำแหน่ง คือ ถ้าติดตั้งอยู่ด้านท้ายของเครื่องบินจะเรียกว่า ล้อหาง เครื่องบินที่ติดตั้งล้อตำแหน้งนี้เรียกว่า คอนเวชั่นแนล แลนดิ่ง เกียร์ (conventional landing gear) ส่วนมากแล้วเครื่องที่ติดตั้งล้อที่ตำแหน่งนี้จะเป็นเครื่องบิน รุ่นเก่า แต่ปัจจุบันนี้การติดตั้งล้อที่ตำแหน่งนี้ไม่นิยม เพราะการบังคับเครื่องบินในขณะอยู่ที่พิ้น ทำได้ยาก ดังนี้ ในปัจจุบันได้นำเอาล้อที่สามนี้มาติดตั้งที่ด้านหน้าของเครื่องบิน เรียกล้อชนิดนี้ว่า โนสวิล (nosewheel) ขณะอยู่ที่พื้น การบังคับที่ รัดเดอร์ จะมากระทำที่ล้อหัวนี้ในการเลี้ยวไปยังทิศทางที่ต้องการ เราสามารถแบ่งชนิดของ แลนดิ่ง เกียร์แบบ สามล้อนี้ได้เป็นสองประเภทคือ แบบติดตั้งตายตัว (fixed gear) กับแบบที่พับเก็บได้ (retractable gear) ชึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบินขึ้น สำหรับแบบนี้ เบรกส์ (brakes) เบรกส์ ของเครื่องบินจะมีส่วนประกอบเช่นเดียวกับ เบรกส์ของรถยนต์ แต่เมื่อใช้งานแล้วรู้สึกว่าใช้งานยากกว่า เนื่องจาก การบังคับของเบรกส์ทั้งสองข้างจะแยกออกจากัน (differential braking) โดยเบรกส์จะติดตั้งอยู่ที่ล้อหลักทั้งสองข้าง ของเครื่องบิน เมื่อเราเหยีบเบรกส์ ด้านซ้ายเบรกส์ก็จะทำงานเฉพาะด้านซ้าย เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพื่อใช้ในการช่วยเลี้ยวในพื้นที่จำกัดบนพื้น ดังนี้ถ้าเราต้องการลดความเร็วจะต้องเหยีบเบรกส์ ทั้งสองข้างในน้ำหนักที่เท่ากัน จึงจะทำให้เครื่องบินลดความเร็วลงในลักษณะที่เครื่องยังอยู่ในสภาพตรงในทิศทาง หรืออยู่บน ทางวิ่ง ไม่เลี้ยวไปในทิศทางใดทางหนึ่ง

ชุดเครื่องยนต์ (Powerplant)
ในเครื่องบินขนาดเล็ก นั้นชุดเครื่องยนต์จะประกอบไปด้วย เครื่องยนต์ (engine) และใบพัด (propeller) โดยเครื่องยนต์นั้นมีหน้าที่หลักคือ ให้พลังงานในการหมุนใบพัด นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ให้กำหนดพลังงานไฟฟ้า ให้กำเนิดต้นกำลังดูด เพื่อใช้ในเครื่องมือวัด (flight instruments) ในการบินบางตัว ในเครื่องยนต์เดียว สำหรับเครื่องบิน (single-engine) จะให้แหล่งความร้อนสำหรับ นักบินและผู้โดยสารด้วย ฉนวนกันไฟ (firewall) เป็นแผ่นที่ติดตั้งอยู่ระหว่างห้องนักบินกับเครื่องยนต์ เพื่อป้องกันความร้อนจากเครื่องยนต์ 

คำศัพท์เกี่ยวกับการบิน ♥


ระหว่างที่อ่านคำศัพท์เหล่านั้น เปิดเพลงฟังกันนะคะ ^^



คำศัพท์เกี่ยวกับการบิน

Aileron-(ปีกแก้เอียง)  เป็นแผ่นกระดานที่ติดอยู่กับขอบปีกหลัง ทำหน้าที่เลี้ยวและแก้เอียง 

Airfoil- เป็นรูปแบบของปีกทำหน้าด้านอากาศพลศาสตร์ของปีก Airfoil แต่ละแบบจะให้ผลทางอากาศพลศาสตร์ไม่เหมือนกัน บางแบบให้แรงยกสูง บางแบบให้แรงต้านต่ำ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ออกแบบเครื่องบินจะเลือกใช้เพื่อให้ได้ลักษณะเครื่องบินตามที่ต้องการ

ARF-(Almost-Ready-To-Fly หรือ "เกือบสำเร็จรูป")-เป็นเครื่องบินที่ผู้ผลิตสร้างมาเกือบเสร็จแล้ว ผู้ซื้อนำมาประกอบอีกเล็กน้อยก็สามารถนำไปบินได้ 

Dihedral-เป็นมุมยกของปีกจากกลางปีกขึ้นไป ช่วยทำให้เครื่องบินมีเสถียรภาพในการม้วน(roll) แต่จะทำให้เครื่องบินม้วนตัวช้าด้วย เครื่องบินประเภทเครื่องฝึกมักจะมีมุมนี้มากเพื่อให้มีเสถียรภาพสูง แต่เครื่องบินผลาดแผงมักจะมีมุมนี้น้อยหรือไม่มีเลยเพื่อการเลี้ยวที่คล่องแคล่ว 

Elevator-เป็นแผ่นกระดานควบคุมที่ติดอยู่ที่ขอบหลังของแพนหางระดับ(Horizontal stabilizer) มีหน้าที่ทำให้เครื่องบินเชิดหัวขึ้นหรือปักหัวลง 

Engine- (เครื่องยนต์) มักหมายถึงเครื่องยนต์สันดาปภายใน ทำหน้าที่ให้แรงขับ(Thrust) แก่เครื่องบิน ทำให้เครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้า 

Fin-เป็นชื่อเรียกอีกชื่อของแพนหางแนวดิ่ง(Vertical Stabilizer) 

Landing Gear-(ฐานล้อ) หมายถึงลูกล้อและก้านที่ต่อกับลูกล้อของเครื่องบิน 

Flap-เป็นแผ่นกระดานควบคุมที่ติดอยู่ที่ขอบปีกด้านหลังและชิดอยู่กับลำตัว ทำหน้าที่เพิ่มแรงยกให้กับเครื่องบินในตอนบินขึ้นหรือร่อนลง เครื่องบินบางลำอาจไม่มี Flap 

Four-Stroke (4-stroke) Engine- (เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ )โดยการจุดระเบิดหนึ่งครั้งต้องใช้ 4 จังหวะ ให้กำลังต่ำกว่าแบบ 2 จังหวะในความจุที่เท่ากัน แต่ให้เสียงไพเราะ คล้ายเครื่องบินจริงมาก มักนิยมติดตั้งในเครื่องบินแบบสเกล 

Fuel Tank-(ถังน้ำมัน) เป็นที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง 

Fuselage-(ลำตัว) เป็นลำตัวของเครื่องบิน 

Glow Plug-(ที่จุดหัวเทียน) เป็นแหล่งให้ความร้อนแก่หัวเทียน ซึ่งใช้ในการสตาร์ทเครื่องยนต์เครื่องบินเล็ก 

Horizontal Stabilizer-(แพนหางระดับ) เป็นแผ่นกระดานที่ต่ออยู่ที่ท้ายเครื่องบินโดยต่ออยู่ในแนวระดับ ทำหน้าที่ให้เสถียรภาพแก่เครื่องบิน และมักจะมี Elevator ติดอยู่ที่ขอบหลัง 

Kit-(ชุดคิท) เป็นชิ้นส่วนเครื่องบิน ที่ผู้ผลิตเครื่องบินเล็กผลิตใส่กล่อง โดยผู้ซื้อจะต้องนำไปประกอบเพื่อสร้างเป็นเครื่องบินอีกทีหนึ่ง 

Landing Gear-(ฐานล้อ) หมายถึงลูกล้อและก้านที่ต่อกับลูกล้อของเครื่องบิน 

Leading Edge- (ชายหน้าปีก) หมายถึงขอบหน้าของปีกเครื่องบิน 

Motor-(มอเตอร์) เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ในเครื่องบินเล็กแบบไฟฟ้า มอเตอร์จะเป็นตัวให้แรงขับแก่เครื่องบิน 

NiCd-(ถ่าน NiCd) เป็นถ่านไฟฉายแบบ NickelCadmium ซึ่งเป็นถ่านที่ชาร์ทไฟกลับเข้าไปใหม่ได้เมื่อถ่านหมด มีความสามารถในการจ่ายกระแสสูงๆ มักนำมาใช้เป็นถ่านจ่ายมอเตอร์ในเครื่องบินไฟฟ้า 

NiMH-เป็นถ่านชาร์ทแบบ Nickel Metal-Hydride มีความจุ(capacity) สูงแต่จ่ายกระแสได้ต่ำกว่าถ่าน NiCd 

Pitch-มี 2 ความหมาย คือ หนึ่งหมายถึงการเงยหัวขึ้น-ลงของเครื่องบิน สอง(ใช้กับใบพัด)หมายถึง การเคลื่อนที่ของอากาศที่ออกจากใบพัดหลังจาก ใบพัดหมุนไป 1 รอบ เช่นใบพัดขนาด 11x7 ใบพัดนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 11 นิ้ว และเมื่อใบพัดหมุนไป 1 รอบ อากาศจะเคลื่อนที่ไปจากใบพัด 7 นิ้ว 

Power Plant- (ต้นกำลัง) หมายถึงเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ ที่สร้างแรงขับให้แก่เครื่องบิน 

Prop- คำย่อ ของ Propeller หรือใบพัด 

Propeller-(ใบพัด) เป็นอุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานจากเครื่องยนต์ ไปสร้างแรงขับให้เครื่องบิน ทำงานโดยการผลักอากาศไปด้านหลัง ทำให้เกิดแรงขับเครื่องบินไปข้างหน้า 

Pushrods-เป็นก้านที่ใช้ต่อระหว่างเซอร์โวและตัวควบคุมเช่น Aileron, Elevator, Rudder เป็นต้น 

Radio-(วิทยุ) หมายถึงวิทยุบังคับ 

Radio Transmitter -(เครื่องส่ง) หมายถึงวิทยุตัวส่งที่ผู้ควบคุมใช้ควบคุมเครื่องบิน 

Receiver Battery -(ถ่าน) สำหรับตัวรับ 

Receiver-(เครื่องรับ) หมายถึงวิทยุตัวรับที่แปลงสัญญานจากเครื่องส่งไปยังเซอร์โว

Retractable (landing gear)-เป็นฐานล้อแบบพับเก็บได้ มักใส่ใว้ในเครื่องบินแบบสเกล 

Roll-(การม้วน) เป็นการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่งของเครื่องบิน โดยปีกจะหมุนรอบลำตัว เกิดจากการควบคุม Aileron และมักจะใช้ในการเลี้ยวเครื่องบิน 

RPM- หมายถึงรอบต่อนาที เช่นเครื่องยนต์หมุน 12000 รอบต่อนาที 

RTC-(Ready-to-Cover หรือ"พร้อมหุ้ม") หมายถึงเครื่องบินที่ผู้ผลิตประกอบมาเกือบสำเร็จ โดยที่ผู้ซื้อนำมาหุ้มพลาสติกฟิลม์ 

RTF- (Ready-to-Fly หรือ"พร้อมบิน") หมายถึงเครื่องบินที่ผู้ผลิตประกอบมาสำเร็จ ผู้ซื้อนำมาประกอบอีกเล็กน้อยก็พร้อมบิน 

Rudder- หมายถึงแผ่นกระดานควบคุม ที่ติดอยู่ที่ขอบปีกหลังของแพนหางดิ่ง ทำหน้าที่หันซ้าย-ขวา หรือแก้อาการไถลซ้าย-ขวา

Scale-มี 2 ความหมาย คือหนึ่งอัตราส่วน ของเครื่องบินจำลองต่อเครื่องบินจริง เช่น 1/5 หมายถึงเครื่องบินจริงจะมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องบินจำลองนี้ 5 เท่า สองหมายถึงเครื่องบินที่ย่อส่วนจากเครื่องบินตามสัดส่วนจริงทุกประการ 

Servo-(เซอร์โว) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญานควบคุมจากตัวรับเพื่อไปควบคุมอุปกรณ์บังคับการบิน เช่น บังคับ Aileron เพื่อเลี้ยว เป็นต้น 

Span-หมายถึง Wing Span 

Stab-คำย่อของ Stabilizer หมายถึงหางเครื่องบิน 

Stabilizer-(หาง) หมายถึงหางเครื่องบิน ดู Horizontal Stabilizer, Vertical Stabilizer 

Tail-(หาง) หมายถึงหางเครื่องบินเช่นกัน 

Taildragger (gear) -(ล้อหาง)เป็นล้อหางของเครื่องบินแบบ 2 ล้อ 

Trailing Edge -(ชายขอบปีกหลัง) หมายถึงขอบด้านหลังของปีก 

Tricycle (Landing) Gear- หมายถึงเครื่องบินแบบที่มี 3 ล้อใหญ่ โดยล้อหน้าจะอยู่ที่หัวเครื่องบิน และ 2 ล้อหลังจะอยู่ใต้ปีกเครื่องบิน 

Trim-(ปรับทริม) หมายถึงการปรับตั้งส่วนควบคุมให้เข้าที่ เช่นเครื่องบินใหม่บินแล้วกินขวา ก็ต้องปรับทริม Aileron ให้ไปทางซ้ายเพื่อให้เครื่องบิน บินตรงทาง 

Two-Stroke Engine -(เครื่องยนต์ 2 จังหวะ) เป็นเครื่องยนต์ที่การจุดระเบิดหนึ่งครั้งใช้ 2 จังหวะ ให้กำลังมากกว่าเครื่องแบบ 4 จังหวะในความจุที่เท่ากัน เป็นเครื่องยนต์ที่นิยมใช้กันทั่วไปในเครื่องบินเล็ก 

Vertical Stabilizer -หมายถึงแพนหางแนวดิ่ง มักจะมี Rudder ติดอยู่ที่ขอบหลัง ทำหน้าที่ให้เครื่องบินมีเสถียรภาพในแนวระดับ คือให้เครื่องบินบินตรง ไปไถลไปทางซ้ายหรือทางขวา 

Wing Area -(พื้นที่ปีก) หมายถึงพื้นที่ปีกในแนว 2 มิติ เช่นเครื่องบินมีปีก กว้าง 10 ซม. ยาว 100 ซม. จะมีพื้นที่ปีกเท่ากับ 1000 ซม.^2 

Wing Chord -หมายถึงความยาวจากชายหน้าปีกถึงชายหลังปีก 

Wing Root -หมายถึงส่วนของปีกที่ติดกับลำตัว 

Wingspan-(กางปีก)คือความยาวปีกจากปลายขอบปีกด้านหนึ่งถึงขอบนอกปีกอีกด้านหนึ่ง (Tip-to-Tip) 

Wing Tip- (ขอบนอกปีก) คือระยะที่ไกลที่สุดของปีกจากลำตัว 

Yaw-(การหัน) คือการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่งของเครื่องบิน โดยการหันซ้าย-ขวา ซึ่งสามารถควบคุมได้จาก Rudder (การ YAW จะทำให้เครื่องบินหันข้างไปขางได้ข้างหนึ่ง(Skid หรือ Slip) Rudder จะถูกใช้เพื่อแก้อาการดังกล่าว 



credit : คำศัพท์เกี่ยวกับการบิน

คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการเดินทางโดยเครื่องบิน Pt.3☺

Go through Customs = ผ่านพิธีการทางศุลกากร


เมื่อเรามาถึงสนามบินจุดหมายของเราที่เราจะต้องทำเมื่อลงจากเครื่องบินคือ 
เราจะต้องไปเจอกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเพื่อตรวจเอกสารและประทับตราหนังสือเดินทาง

Purpose = จุดประสงค์

เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองอาจจะถามว่า "จุดมุ่งหมายของการเดินทางมาของเราคืออะไร" ให้เราตอบตรงประเด็นสั้นๆ   เช่น

"I'm on vacation" = ฉันมาพักร้อน 
"I'm here for a conference." = ฉันมาเข้าร่วมการสัมมนาที่นี่


Carrousel / Belt = สายพานเวียน สำหรับรับกระเป๋า

เวลาเราไปรับกระเป๋าที่โหลดไว้ตอน check-in เราก็ต้องดูเที่ยวบินของเราว่าจะส่งออกมาที่สายพานเบอร์อะไร
คุณสามารถเข็นมาขนสำภาระของคุณได้


หลังจากนั้นเราก็ต้องผ่านขั้นตอนทางศุลกากร เมื่อเจ้าหน้าที่ถามว่า 
"Do you have anything to declare?" =คุณมีสิ่งของอะไรที่จะให้เจ้าหน้าที่ตรวจหรือไม่ 
ถ้ามีเราก็ต้องบอกว่ามี "Yes, I do." = มีของที่ต้องตรวจสอบ 
แต่ถ้าไม่คุณก็แค่ตอบว่า "No, I don't." = ไม่มีสิ่งของที่ต้องตรวจสอบ 


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ น่ารู้เกี่ยวกับการเดินทางโดยเครื่องบิน

Go through Customs แปลว่า ผ่านพิธีการทางศุลกากร
Declare แปลว่า แจ้ง หรือ ชี้แจง
Carrousel / Belt แปลว่า สายพานเวียน สำหรับรับกระเป๋า
Purpose แปลว่า จุดประสงค์
Visit แปลว่า มาเยือน
Vacation แปลว่า ช่วงลาพักร้อน
Conference แปลว่า การสัมมนา

 

 

ประโยคภาษาอังกฤษเมื่ออยู่บนเครื่องบิน ♥


รู้คำศัพท์ไปแล้ว คราวนี้ลองมาดูประโยคบ้างนะคะ >3<

Please fasten your seat beit. แปลว่า กรุณาคาดเข็มขัดนิรภัย
Cabin crew prepare for take-off. แปลว่า ให้ลูกเรือเตรียมตัวสำหรับการนำเครื่องบินขึ้น
Cabin crew prepare for landing. แปลว่า ให้ลูกเรือเตรียมตัวสำหรับการนำเครื่องบินลง

Passengers = ผู้โดยสาร

สำหรับผู้โดยสารที่นั่งเครื่องบินอาจจะรู้สึกหนาวต้องการผ้าห่มและหมอนก็อาจจะขอจากลูกเรือโดยพูดว่า
"Excuse me, Miss. May I have a blanket and a pillow please?"
 

Normally during the flight, an air hostess will serve drinks for passengers.
They will likely ask; Will you have tea or coffee, Sir? or What would you like to drink?

ระหว่างทางก็จะมีบริการเครื่องดื่มซึ่งคำถามข้างต้นก็แปลว่า คุณจะรับชาหรือกาแฟดี ค่ะ/ครับ หรือคุณต้องการเครื่องดื่มอะไร ค่ะ/ครับ ถ้าเราต้องการดื่มกาแฟก็เพียงตอบสั้นๆว่า 
"Coffee please. = ขอกาแฟ


Travelling by plane = การเดินทางโดยเครื่องบิน


วกเขาก็จะบริการอาหาร ด้วยคำถามว่า
"What would you prefer the fish or the chicken?" แปลว่า คุณชอบอะไรมากกว่ากันปลา หรือไก่ ถ้าชอบไก่คำตอบก็คือ "I'd like the chicken please." แปลว่า ฉันขอรับเป็นเนื้อไก่


คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการเดินทางโดยเครื่องบิน Pt.2 ☺



ก่อนอื่นเราจะมาพูดเกี่ยวกับคนที่ทำงานอยู่บนเครื่องบินกันนะคะ

Captain กัปตัน ทำหน้าที่ขับเครื่องบิน
Steward พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (ชาย)
Stewardess or Air hostess = พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (หญิง)


เราสามารถเรียกพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ว่าเป็น "Cabin crew = ลูกเรือ
ส่วนผู้โดยสารก็คือ "Passengers =ผู้โดยสาร"

Stewardess or Air hostess = พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน


ในเครื่องบินหนึ่งลำก็จะมีการจัดสันพื้นที่ภายใน แบ่งเป็น ระดับ 
(1First Class = ระดับที่แพงที่สุด, 
(2Business Class = ระดับที่นั่งสำหรับนักธุรกิจ
(3Economy Class = ระดับที่นั่งชั้นประหยัด 

มีคำศัพท์หลายคำที่เราจะพบเห็นเมื่ออยู่บนเครื่องบิน "Seat = ที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร
ผู้โดยสารแต่ละท่านจะมีหมายเลขนั่งเป็นของตัวเอง


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ คำว่า

Aisle แปลว่า ทางเดินระหว่างแถวที่นั่ง
Lavatory or Toilet แปลว่า ห้องน้ำ

สังเกตให้ดี เวลาจะเข้าห้องน้ำจะมีไฟที่หน้าห้องน้ำเขียนว่า "Vacant = ว่าง" สามารถเข้าได้เลย 
แต่ถ้าไฟที่หน้าห้องน้ำขึ้นคำว่า "Occupied กำลังมีคนใช้ห้องน้ำอยู่" และ "No smoking = ห้ามสูบบุหรี่"


คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการเดินทางโดยเครื่องบิน Pt.1☺

คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการเดินทางโดยเครื่องบิน  ☺


เวลาที่เราไปสนามบินเราจะเห็น
Terminal building = อาคารสนามบิน ซึ่งแบ่งเป็น 
Departures ขาออก,
Arrivals ขาเข้า
Domestic การเดินทางภายในประเทศ  
international = การเดินทางระหว่างประเทศ



สิ่งสำคัญเวลาจะขึ้นเครื่องบินไปต่างประเทศก็คือ
 Airplane Ticket = ตั๋วเครื่องบิน 
 Passport = หนังสือเดินทาง 

Check-in = ลงทะเบียนเพื่อขึ้นเครื่อง


ตั๋วของเราจะบอกถึง
Flight Number = เลขเที่ยวบิน
Destination จุดหมาย
Boarding Time เวลาขึ้นเครื่อง 
เมื่อเราไปถึงสนามบินเราต้องเอาตั๋วของเราไปทำการ

Immigration = การตรวจคนเข้าเมือง

เราสามารถโหลดกระเป๋าเดินทางที่เราไม่ต้องการถือขึ้นเครื่องได้ที่เคาท์เตอร์เช็คอิน เจ้าหน้าที่จะให้ 
Boarding Passบัตรผ่านขึ้นเครื่องบินจากนั้นเราก็ต้องผ่านวิธีการ 
Immigration = การตรวจคนเข้าเมือง เพื่อตรวจสอบหนังสือเดินทาง 
จากนั้นเราก็มุ่งหน้าไปที่ Gate ประตูที่จะขึ้นเครื่องบิน ตามหมายเลขที่ระบุไว้






credit : ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน Travelling by plane การเดินทางโดยเครื่องบิน